ความหมายของระบบเครือข่าย ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือระบบเน็ตเวิร์ก คือ กลุ่มของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันเพื่อ ให้ผู้ใช้ในเครือข่ายสามารถติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนข้อมูล และใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในเครือข่ายร่วมกันได้"เครือข่ายนั้นมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กที่เชื่อมต่อกันด้วยคอมพิวเตอร์เพียงสองสามเครื่อง เพื่อใช้งานในบ้านหรือในบริษัทเล็กๆ ไปจนถึงเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันทั่วโลก ส่วน Home Network หรือเครือข่ายภายในบ้าน ซึ่งเป็นระบบ LAN ( Local Area Network) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กๆ หมายถึง การนำเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ มาเชื่อมต่อกันในบ้าน สิ่งที่เกิดตามมาก็คือประโยชน์ในการใช้คอมพิวเตอร์ด้านต่างๆ เช่น
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร สถาบันการศึกษาและบ้านไปแล้วการใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ทั้งไฟล์ เครื่องพิมพ์ ต้องใช้ระบบเครือข่ายเป็นพื้นฐาน ระบบเครือข่ายจะหมายถึง การนำคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อกันเพื่อจะทำการแชร์ข้อมูล และทรัพยากรร่วมกัน เช่น ไฟล์ข้อมูลและเครื่องพิมพ์
ระบบเครือข่าย เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกันเพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลทรัพยากรร่วมกันได้ เช่น สามารถใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน สามารถใช้ฮาร์ดดิสก์ร่วมกัน แบ่งปันการใช้ อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้แม้กระทั่งสามารถใช้โปรแกรมร่วมกันได้เป็นการลดต้นทุนขององค์กรเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทตามพื้นที่ที่ครอบคลุมการใช้งานของเครือข่าย ดังนี้ 1) เครือข่ายส่วนบุคคล หรือแพน (Personal Area Network : PAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ส่วนบุคคล เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือ การเชื่อมต่อพีดีเอกับเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้จะอยู่ในระยะใกล้ และมีการเชื่อมต่อแบบไร้สาย ภาพแสดงลักษณะการเชื่อมต่ออุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้ส่วนบุคคล จาก https://kruudsa2011.wordpress.com จาก http://networkdesignbyball.weebly.com/ 3) เครือข่ายนครหลวง หรือแมน (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้เชื่อมโยงแลนที่อยู่ห่างไกลออกไป เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสำนักงานที่อาจอยู่คนละอาคารและมีระยะทางไกลกัน การเชื่อมต่อเครือข่ายชนิดนี้อาจใช้สายไฟเบอร์ออพติกหรือบางครั้งอาจใช้ไมโครเวฟเชื่อมต่อเครือข่ายแบบนี้ใช้ในสถานศึกษามีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเครือข่ายแคมปัส (Campus Area Network: CAN) ภาพแสดงลักษณะระบบเครือข่ายแมน จาก https://greentae.wordpress.com/ 4) เครือข่ายวงกว้าง หรือแวน (Wide Area Network: WAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงกับเครือข่ายอื่นที่อยู่ไกลกันมาก เช่น เครือข่ายระหว่างจังหวัด หรือระหว่างภาครวมไปถึงเครือข่ายระหว่างประเทศ ภาพแสดงลักษณะระบบเครือข่ายแวน จาก https://greentae.wordpress.com/ การเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ กลุ่มของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อสื่อสารข้อมูลระหว่างกันเรียกว่า เครือข่าย ซึ่งเครือข่ายนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจจะประกอบไปด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ หรืออุปกรณ์อื่นที่ทำหน้าที่ส่งและรับข้อมูลที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน การเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารข้อมูลในระบบเครื่อข่ายมีรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้ 1. การเชื่อมต่อแบบวงแหวน (Ring Topology) เป็นการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากสถานีเชื่อมโยง (Node) หนึ่งไปยังอีกสถานีเชื่อมโยงหนึ่งโดยเครื่องหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละตัวจะเชื่อมตอ่กันทางด้านข้างทั้ง 2 ด้าน จนเกิดเป็นวงกลมหรือลูป (Loop) การส่งสัญญาณจะมีการรับและส่งข้อมูลต่อกันไปในทิศทางเดียวกันจนกระทั่งถึงสถานีปลายทางจากนั้นสถานีปลายทางจะส่งสัญญาณตอบรับว่าได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้วภาพแสดงการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบวงแหวน จาก http://www.tanti.ac.th/Com-tranning/webnot/index611.htm 2. การเชื่อมต่อแบบบัส (Bus Topology) เป็นการใช้ช่องทางการสื่อสารร่วมกันโดยเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทั้งหมดในเครือข่ายจะเชื่อมต่อเข้ากับสายหลักเพียงเส้นเดียว เรียกสายหลักว่า แบ็กโบน (Backbone) ภาพแสดงการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส https://sites.google.com/a/thoengwit.ac.th/master_site/bi-khwam-ru-thi-1-2 3. การเชื่อมต่อแบบดาว (Star Topology) เป็นเครือข่ายที่เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเข้ากับจุดศูนย์กลางของเครือข่ายโดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า ฮับ (Hub) หรือ สวิตซ์ (Switch) จาก https://supachai52.wordpress.com 4. การเชื่อมต่อแบบเมช (Mesh Topology) เป็นโครงสร้างเครือข่ายที่ได้รับความนิยมมากและมีประสิทธิภาพสูง เพราะเมื่อเส้นทางของการเชื่อมต่อข้อมูลคู่ใดคู่หนึ่งเกิดปัญหาหรือขาดจากกัน การติดต่อสื่อสารระหว่างกันายังสามารถติดต่อกันได้ด้วยอุปกรณ์จัดเส้นทาง (Router) ซึ่งจะเชื่อมต่อเส้นทางใหม่ไปยังจัดหมายปลายทางโดยอัตโนมัติ โครงสร้างเครือข่ายแบบเมชมักเป็นเครือข่ายแบบไร้สาย ภาพแสดงการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบเมช จาก https://sites.google.com/a/thoengwit.ac.th/master_site/bi-khwam-ru-thi-1-2 5. การเชื่อมต่อแบบผสม (Hybrid Topology) เป็นการผสมผสานรูปแบบการเชื่อมต่อแบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อแบบวงแหวน การเชื่อมต่อแบบบัส หรือการเชื่อมต่อแบบดาวโดยออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นจริง จาก https://sites.google.com/a/thoengwit.ac.th/master_site/bi-khwam-ru-thi-1-2 อูปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์ ในการเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารข้อมูลระหวางเครือข่าย จำเป็นต้องมีอุปกรณ์การสื่อสารข้อมูลที่ใช้เชื่อมต่อ เพื่อให้ข้อมูลที่ส่งไปสามารถสื่อสารถึงปลายทางและสามารถแปลความหมายได้ตรงกันอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลมีดังนี้ 1. โมเด็ม (Modem) MODEM มาจากคำเต็มว่า Modulator – DEModulator ทำหน้าที่แปลงสัญญาณข้อมูลดิจิตอล ที่ได้รับจากเครื่องส่งหรือคอมพิวเตอร์ เป็นสัญญาณแบบอนาลอก เรียกว่า โมดูเลชัน โมเด็มที่ทำหน้าที่นี้เรียกว่า โมดูเลเตอร์ (Modulator) ก่อนทำการส่งไปยังปลายทางต่อไป โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์ และเมื่อส่งถึงปลายทางก็จะมีโมเด็มทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากอนาลอกให้เป็นดิจิตอล เรียกว่า ดีโมดูเลชัน (Demodulation) โมเด็มที่ทำหน้าที่นี้เรียกว่า ดีโมดูเลเตอร์ (Demodulator) เพื่อใช้กับคอมพิวเตอร์ปลายทาง จาก http://itsentre.blogspot.com/2013/03/modem.html โมเด็ม (Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านทางสายโทรศัพท์ สำหรับโมเด็มที่นิยมใช้งานกันจะมีอยู่ 2 ประเภทคือ แบบติดตั้งกับเครื่องคอมพิวเตอร์(Internal) และแบบที่ติดตั้งภายนอกโดยใช้เสียบเข้าที่ด้านหลังของเครื่อง (External) สำหรับความเร็วของอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน ขั้นต่ำอยู่ที่ประมาณ 56 Kbps ในปัจจุบันมีการพัฒนาไปมาก คู่สายโทรศัพท์ได้รับการพัฒนาเป็นแบบดิจิตอลมากขึ้น โมเด็มแบบดิืจิตอล เช่น ADSL Modem, Cable Modem เป็นต้น ด้วยคู่สายแบบดิจิตอลทำให้มีความเร็วสูงถึง 24 Mbps และเทคโนโลยี 3G ที่เริ่มแพร่หลาย ได้รับความนิยมกันมากสำหรับผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตไร้สาย หรือผู้ที่เชื่อต่อผ่านทางแอร์การ์ด ความเร็วของ ระบบ 3G จะอยู่ที่ประมาณ 7.2 Mbps 2. การ์ดเชื่อมต่อเครือข่ายหรือแลนการ์ด (Network Interface Card : NIC) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมระหว่างคอมพิวเตอร์กับสายเคเบิลการ์ดนี้ส่วนใหญ่จะติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเสียบลงบนแผงวงจรหลักของคอมพิวเตอร์ส่วนช่องทางในการรับส่งข้อมูลในการเชื่อมต่อกับสายเคเบิลจะอยู่ทางด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์การ์ดนี้ช่วยในการควบคุมการรับส่งข้อมูลและตรวจสอบข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น จาก http://www.huaikrot.ac.th/web/network/lession3/net5.htm 3. ฮับ (HUB) ฮับเป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อสายเคเบิลในเครือข่ายมีลักษณะเป็นช่องเสียบสายเคเบิลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องรับบริการ จาก http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/1203451/unit002/unit02_04.htm 4. สวิตช์ (Switch) เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหรือคอมพิวเตอร์หลายเครื่องเช่นเดียกับฮับ แต่การรับส่งข้อมูลจากอุปกรณ์ตัวหนึ่งจะไม่กระจายไปยังทุกจุดเหมือนฮับเพราะสวิตจะรับกลุ่มข้อมูลมาตรวจสอบก่อนว่าเป็นของคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใดจึงจะส่งต่อไปยังเป้าหมายอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยลดปัญหาการชนกันของข้อมูล และป้องกันการดักรับข้อมูลที่กระจายไปในเครือข่าย จาก http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/1203451/unit002/unit02_04.htm 5. รีพีทเตอร์ (Repeater) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนตัวกลางนำสัญญาณจากตัวกลางหนึ่งไปยังอีกตัวกลางหนึ่ง เช่น จากไฟเบอร์ออปติกมายังโคแอ๊กเชียล หรือการเชื่อมระหว่างตัวกลางเดียวกันก็ได้ การใช้รีพีทเตอร์จะทำให้เครือข่ายทั้งสองเสมือนเชื่อมกัน โดยที่สัญญาณจะวิ่งทะลุถึงกันได้หมด รีพีทเตอร์จึงไม่มีการกันข้อมูล แต่จะทำหน้าที่ขยายสัญญาณโดยไม่สนใจว่าข้อมูลที่ส่งเข้ามาจะเคยถูกรบกวนหรือผิดเพี้ยนประการใด แต่จะมีหน้าที่ส่งให้อุปกรณ์ต่อไปซึ่งจะได้ประโยชน์ในการเชื่อมต่อความยาวให้ยาวขึ้น จาก http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_wan5.htm 6. บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มักจะเชื่อมต่อเครือข่ายแลนเข้าด้วยกัน ทำให้สามารถขยายขอบเขตของเครือข่ายแลนออกไปได้เรื่อย ๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบไม่ลดลงมากนัก มักจะถูกใช้ในการเชื่อมเครือข่ายย่อย ๆ ในองค์กรเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายใหญ่เพียงเครือข่ายเดียว เพื่อให้เครือข่ายย่อย ๆ เหล่านั้นสามารถติดต่อกับเครือข่ายย่อยอื่น ๆ ได้ จาก http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_wan6.htm 7. อุปกรณ์จัดเส้นทางหรือเราเตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน คล้ายกับบริดจ์ แต่มีส่วนการทำงานที่ซับซ้อนกว่าบริดจ์มาก โดยเราเตอร์จะมีเส้นทางการเชื่อมโยงแต่ละเครือข่ายเก็บไว้เป็นตารางเส้นทาง เรียกว่า เราติงเทเบิล (Routing Table) ทำให้เราเตอร์สามารถทำหน้าที่จัดหาเส้นทางและเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการเดินทาง เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารและรับส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ จาก http://www.comgeeks.net/router/ ภาพแสดงเราเตอร์ไร้สาย จาก http://www.buycoms.com/advertorial/112/Modem%20BILLION/BILLION%20BIPAC%207100G%20.htm 8. เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยไม่มีขีดจำกัดทั้งระหว่างเครือข่ายต่างระบบหรือแม้กระทั่งโปรโตคอลที่แตกต่างกันเกตเวย์จะแปลงโปรโตคอลให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่ต่างชนิดกันจัดเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพงและติดตั้งใช้งานยุ่งยากเกตเวย์บางตัวจะรวมคุณสมบัติในการเป็นเราเตอร์ด้วยในตัวหรืออาจรวมเอาฟังก์ชันการทำงานด้านการรักษาความปลอดภัยที่เรียกว่า ไฟร์วอลล์ (Firewall) เข้าไว้ด้วย ภาพแสดงอุปกรณ์เกตเวย์ จาก http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/computer/network/net_wan9.htm ภาพแสดงการเชื่อมต่ออุปกรณ์เกตเวย์ จาก http://www.tanti.ac.th/Com-tranning/NetWork/gateway.htm 9. จุดเชื่อมต่อแบบไร้สาย (Wireless Access Point) หรือ WAP หรือเรียกสั้นๆว่า AP คือ อุปกรณ์ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยให้อุปกรณ์ไร้สายสามารถเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบมีสายได้โดยการใช้เทคโนโลยีของแลนไร้สาย หรือ มาตรฐานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง. AP มักจะเชื่อมต่อกับเราต์เตอร์ด้วยสายเคเบิล (ผ่านเครือข่าย แบบมีสาย) ซึ่งอาจเป็นอุปกรณ์แยกต่างหากหรือเป็นส่วนหนึ่งของเราเตอร์นั้น ภาพแสดงอุปกรณ์เชื่อมต่อแบบไร้สาย จาก https://th.wikipedia.org/wiki ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล
|
วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2564
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2564
เทคโนโลยีการสื่อสาร
เทคโนโลยีการสื่อสาร
เทคโนโลยี (Technology)
มีความหมายมาจากคำ 2 คำ คือเทคนิค (Technique) ซึ่งหมายถึง วิธีการที่มีการพัฒนาและสามารถนำไปใช้ได้ และคำว่า ลอจิก (Logic) ซึ่งหมายถึงวิธีการปฏิบัติที่มีการจัดลำดับอย่างมีรูปแบบและขั้นตอนเพื่อที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพในเรื่องความเร็ว (Speed) ความน่าเชื่อถือ (Reliably) และความถูกต้อง ซึ่งคุณสมบัติที่กล่าวถึงนี้มีอยู่อย่างครบถ้วนในเครื่องคอมพิวเตอร์
อย่างไรก็ตาม ความหมายของคำว่าเทคโนโลยี ไม่ได้หมายถึงแต่เพียงคอมพิวเตอร์เท่านั้นเพราะเทคโนโลยีที่เราพบเห็นยังมีอีกหลายอย่าง เช่น เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร และ โทรคมนาคมเทคโนโลยีเครือข่าย เทคโนโลยีสำหรับการผลิต การจัดการในงานธุรกิจและงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
เทคโนโลยี ในความหมายของคำว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก็คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยประมวลผลข้อมูลให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ โดยระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบหลักที่สำคัญคือ ฮาร์ดแวร์ หรือตัวเครื่องและอุปกรณ์รอบข้าง ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรม และผู้ทำงานที่ต้องการทำงานอย่างสัมพันธ์กัน
การสื่อสาร (Communication) แต่เดิมมักได้ยินแต่คำว่า IT หรือ Information Technology เท่านั้น ต่อมาได้นำตัว C หรือ Communication เข้ามาร่วมด้วย เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารได้พัฒนาอย่างมาก และสามารถที่จะนำสื่อสารในเทคโนโลยีได้ การสื่อสารครอบคลุมประเด็นในเรื่ององค์ประกอบ 3 ส่วน ได้แก่ ผู้ส่งสาร ช่องทางการสื่อสาร และผู้รับสาร และมีระบบการสื่อสาร 2 ประเภท คือ ประเภทมีสาย และประเภทไม่มีสายหรือไร้สาย เทคโนโลยีการ สื่อสาร ได้แก่ อินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะบริการเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web) หรือ (web) จึงกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง "วิทยาการต่างๆ ที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลข่าวสารของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่ง" กล่าวคือ เทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง กับการจัดการสารสนเทศที่อาศัยเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมเป็นหลัก ตั้งแต่การรวบรวม การจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ เพื่อให้ได้สารสนเทศไว้ใช้งานได้อย่างทันเหตุการณ์ก่อให้เกิดประสิทธิภาพทั้งในด้านการผลิต การบริการ การบริหารและการดำเนินงานต่างๆ รวมทั้งเพื่อการศึกษา และการเรียนรู้ ซึ่งจะส่งผลต่อความได้เปรียบทางด้านเศรษฐกิจ การค้า และการพัฒนาคุณภาพชีวิต และคุณภาพของประชาชนในสังคม ปัจจุบันเทคโนโลยีถูกนำมาใช้ในทุกวงการ เช่น - นำมาใช้ในวงการแพทย์ เรียกว่า เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology)
- นำมาใช้ทาง การเกษตร เรียกว่า เทคโนโลยีทางการเกษตร (Agricultural Technology)
- นำมาใช้ทางการอุตสาหกรรม เรียกว่า เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม (Industrial Technology)
- นำมาใช้ทางการสื่อสาร เรียกว่า เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology)
- นำมาใช้ในวงการศึกษา ที่เรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) และนำมาใช้ในวงการอื่น ๆ อีกมากมาย
เทคโนโลยีการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีในการสื่อสารยุคใหม่ 4 กลุ่ม ได้แก่ 1. เทคโนโลยีการแพร่ภาพและเสียง (Broadcast and Motion Picture Technology) 2. เทคโนโลยีการพิมพ์ (Print and Publishing Technology) 3. เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ (Computer Technology) 4. เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม (Telecommunication Technology)
- นำมาใช้ในวงการแพทย์ เรียกว่า เทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Technology)
- นำมาใช้ทาง การเกษตร เรียกว่า เทคโนโลยีทางการเกษตร (Agricultural Technology)
- นำมาใช้ทางการอุตสาหกรรม เรียกว่า เทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม (Industrial Technology)
- นำมาใช้ทางการสื่อสาร เรียกว่า เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology)
- นำมาใช้ในวงการศึกษา ที่เรียกว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) และนำมาใช้ในวงการอื่น ๆ อีกมากมาย
แนวโน้มเทคโนโลยีการสื่อสารในอนาคต
อุปกรณ์การสื่อสาร
เมื่อพิจารณาเครือข่ายการสื่อสารทั่วไปจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เห็นได้ชัดว่ามนุษย์ใช้อุปกรณ์การสื่อสารแบบพกพามากขึ้นเรื่อยๆ เริ่มจากวิทยุเรียกตัว (pager) ซึ่งเป็นเครื่องรับข้อความ มาเป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ อุปกรณ์สื่อสารชนิดนี้ได้ถูกพัฒนาจนสามารถใช้งานด้านอื่นๆได้ นอกจากการพูดคุยธรรมดา โทรศัพท์เคลื่อนที่รุ่นใหม่สามารถใช้ถ่ายรูป ฟังเพลง ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ บันทึกงานสั้นๆ โทรศัพท์บางรุ่นมีลักษณะเป็นเครื่องช่วยงานส่วนบุคคล (Personal Digital Assistant : PDA) ซึ่งสามารถเชื่อต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ อีกทั้งยังมีหน้าจอแบบสัมผัส ทำให้สะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น บางรุ่นมีอุปกรณ์สไตลัส (stylus) คือใช้ปากกาป้อนข้อมูลทางหน้าจอ บางรุ่นสามารถสั่งการด้วยเสียง
ในอนาคตอันใกล้ มนุษย์จะมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยใช้กันมากขึ้น นอกเหนือจากการพูดคุยแบบเห็นหน้าผ่านอินเทอร์เน็ต มนุษย์สามารถพูดคุยแบบเห็นหน้าผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ทำให้สามารถติดต่อกันได้ด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกลง สามารถส่งข้อความ ภาพ และเสียง ได้โดยง่ายดาย สะดวกรวดเร็ว อีกทั้งยังค้นหาข้อมูลด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติมากขึ้นด้วยเว็บรุ่นที่สาม ( Web 3.0 ) แทนที่จะเป็นการใช้คำหลักเหมือนดังที่ใช้ในปัจจุบัน
ดังนั้นอุปกรณ์สำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในอนาคตมีแนวโน้มเป็นดังนี้คือ มีขนาดเล็กลง พกพาได้ง่าย แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เช่น เก็บข้อมูลได้มากขึ้น ประมวลผลได้เร็วขึ้น ใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น โดยมีการผนวกอุปกรณ์หลายๆอย่างไว้ในเครื่องเดียว ( all-in-one )
สำคัญอุปกรณ์เหล่านี้ต้องใช้งานง่ายขึ้น รวมถึงสามารถสั่งงานด้วยเสียงได้ นอกจากนี้ ยังมีระบบ
รักษาความปลอดภัยที่ดีขึ้น โดยอาศัยลายนิ้วมือหรือจอม่านตา แทนการพิมพ์รหัสแบบในปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในอดีตมักเป็นระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อตรงเพียงชุดเดียว (stand alone)
ต่อมามีการเชื่อต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันภายในองค์กร เพื่อทำให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน หรือใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน จนเกิดเป็นระบบรับและให้บริการ หรือเรียกว่าระบบรับ-ให้บริการ ( client-server system ) โดยมีเครื่องให้บริการ ( server ) และเครื่องรับบริการ ( client )
การให้บริการบนเว็บก็นำหลักการของระบบรับ-ให้บริการมาใช้ช่วยให้การทำงานง่าย สะดวกรวดเร็ว เพราะสามารถทำงานจากที่ใดก็ได้โดยผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยมีเว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server ) เป็นเครื่องให้บริการ
เมื่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นไปอย่างแพร่หลาย การพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อให้ผู้ใช้สามารถสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้โดยตรง โดยที่เครื่องให้บริการมีหน้าที่เพียงแค่เก็บตำแหน่งของเครื่องผู้ใช้งานที่มีข้อมูลนั้นๆอยู่ เพื่อให้เครื่องอื่นสามารถทราบที่อยู่ที่มีข้อมูลดังกล่าว และเข้าถึงข้อมูลนั้นได้ เรียกระบบแบบนี้ว่าเครือข่ายระดับเดียวกัน (Peer-to-Peer network:P2P network )
ปัจจุบันมีการใช้แลนไร้สาย (wireless LAN ) ในสถาบันการศึกษา และองค์กรหลายแห่ง การให้บริการแลนไร้สาย หรือ ( Wi-Fi ) ตามห้างสรรพสินค้า ร้านขายเครื่องดื่ม หรือห้องรับรองของโรงแรมใหญ่ ภายใต้ความร่วมมือของผู้ให้บริการ ทำให้นักธุรกิจสามารถดำเนินธุรกรรมผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายได้ หรือบางรายอาจซื้อบริการอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านทางโทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้ยังเริ่มมีการใช้เทคโนโลยีติดตามตำแหน่งรถด้วยจีพีเอส ( Global Positioning System: GPS ) กับรถแท็กซี่เพื่อความปลอดภัยทั้งผู้โดยสารและผู้ขับรถ
ข้อดีของเทคโนโลยีการสื่อสาร
1 ลดแรงงานคนในการทำงานต่าง ๆ เช่น ควบคุมการผลิต และช่วยในการคำนวน
2 เพิ่มความสะดวกสะบายตั้งแต่ส่วนบุคคล จนถึงการคมนาคมและสื่อสารทั่วโลก
3 เป็นแหล่งความบันเทิง
4 ได้ผลผลิตที่มีมาตรฐาน เหมือนกันหมดทุดชิ้น ซึ่งอิเฎลเห็นว่าเป็นการลดคุณค่าของชิ้นงาน เพราะ Handmade คืองานชิ้นเดียวในโลก
5 ลดต้นทุนการผลิต
6 ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
7 ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม และ เกิดการกระจายโอกาศ
8 ทำให้เกิดสื่อการเรียนการสอนต่างๆมากขึ้น
9 ทำให้เกิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น
10 ทำให้เกิดระบบการป้องกันประเทศที่มีประสิทธิภามมากยิ่งขึ้น
11 ในกรณีของอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถเลือกการผ่อนคลายได้ตามอิสระ
2 เพิ่มความสะดวกสะบายตั้งแต่ส่วนบุคคล จนถึงการคมนาคมและสื่อสารทั่วโลก
3 เป็นแหล่งความบันเทิง
4 ได้ผลผลิตที่มีมาตรฐาน เหมือนกันหมดทุดชิ้น ซึ่งอิเฎลเห็นว่าเป็นการลดคุณค่าของชิ้นงาน เพราะ Handmade คืองานชิ้นเดียวในโลก
5 ลดต้นทุนการผลิต
6 ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
7 ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม และ เกิดการกระจายโอกาศ
8 ทำให้เกิดสื่อการเรียนการสอนต่างๆมากขึ้น
9 ทำให้เกิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น
10 ทำให้เกิดระบบการป้องกันประเทศที่มีประสิทธิภามมากยิ่งขึ้น
11 ในกรณีของอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้สามารถเลือกการผ่อนคลายได้ตามอิสระ
ข้อเสียของเทคโนโลยีการสื่อสาร
1 สิ้นเปลืองทรัพยากร เช่น น้ำมัน แก็ส และถ่านหิน จนกระทั้งน้ำ
2 เปลี่ยนสังคมชาวบ้าน ให้กลายเป็นวัตถุนิยม (อิเฎลไม่ชอบมาก ๆ)
3 ทำให้มนุษย์ขาดการออกกำลังกาย
4 ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน เพราะใช้แรงงานเครื่องจักรแทนแรงงานคน
5 ทำให้เสียเวลา ทั้งจากรายการไร้สาระในโทรทัศน์ จนกระทั่งนัก chat
6 หากใช้เว็ปไซด์จำพวก Social Network จะทำให้ผู้ใช้มีโลกเป็นของตนเอง ขาดการติดต่อกับผู้อื่น โดยเฉพาะที่เห็นชัดเจนเกิดช่องว่างระหว่างผู้สูงอายุกับเด็ก
2 เปลี่ยนสังคมชาวบ้าน ให้กลายเป็นวัตถุนิยม (อิเฎลไม่ชอบมาก ๆ)
3 ทำให้มนุษย์ขาดการออกกำลังกาย
4 ทำให้เกิดปัญหาการว่างงาน เพราะใช้แรงงานเครื่องจักรแทนแรงงานคน
5 ทำให้เสียเวลา ทั้งจากรายการไร้สาระในโทรทัศน์ จนกระทั่งนัก chat
6 หากใช้เว็ปไซด์จำพวก Social Network จะทำให้ผู้ใช้มีโลกเป็นของตนเอง ขาดการติดต่อกับผู้อื่น โดยเฉพาะที่เห็นชัดเจนเกิดช่องว่างระหว่างผู้สูงอายุกับเด็ก
ผลกระทบ
ทำให้เสียสุขภาพเช่นการใช้คอมพิวเตอร์เล่นเกมเป็นเวลานานอาจทำให้เสียสายตา และเกิดปัญหาในเรื่องการเรียน กล่าวโดยสรุปแล้วคอมพิวเตอร์ก็เปรียบเสมือนเครื่องมือเครื่องใช้อื่นๆ ซึ่งมีทั้งคุณและโทษแล้วแต่เราจะเลือกใช้ในทางใด ถ้านำไปใช้ในทางที่เป็นภัยเช่นในการทำสงครามผลการะทบในทางลบก็มีมากอย่างไรก็ตามเมื่อมองดูผลกระทบโดยส่วนรวมแล้วจะเห็นว่าคอมพิวเตอร์มีคุณประโยชน์มากกว่ามีโทษโลกของเรานี้จะไม่มีทางพัฒนาก้าวหน้ามาสู่ระดับนี้ได้เลยถ้าหากปราศจากคอมพิวเตอร์เสียแล้วในอนาคตที่กำลังจะมาถึงนี้ตัวเราเองก็จะไม่ประสบความสำเร็จในอาชีพถ้าหากไม่มีความรู้เรื่องคอมพิวเตอร์
ทางด้านสังคม
ทำให้เกิดอาชญากรรมคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ทำให้เกิดอาชญากรรมประเภทใหม่ขึ้น คือการขโมยโปรแกรมและข้อมูลไปขายให้คู่แข่งขัน ทำให้คู่แข่งขันได้เปรียบเพราะล่วงรู้ข้อมูลและแผนการทำงานของเราได้ นอกจากนี้ข้อมูลบาง อย่างก็เป็นความลับส่วนบุคคลซึ่งถ้าหากถูกขโมยออกไปเปิดเผยอาจทำให้เสื่อมเสียได้ อนึ่งยังอาจมีการแอบใช้คอมพิวเตอร์ลับลอบแก้ไขดัดแปลงตัวเลขในบัญชีของธนาคารโดยไม่ถูกต้อง เป็นผลให้กิจการเสียหายได้ อาชญากรรมเหล่านี้จะเกิดขึ้นมากตามการขยายตัวของการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในอนาคตและจำเป็นต้องมีการศึกษาหาทางป้องกัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ
ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ บริษัท Daifuku Daifuku ก่อตั้งขึ้นในปี 1937 และได้ให้บริการระบบการขนถ่ายวัสดุชั้นยอดให้กับลูกค้ามาก...